วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวข้อสอบ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

 แนวข้อสอบ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ชุด 2
1. ข้อใดเป็นความจริงเกี่ยวกับแผนระยะยาว
(1)  มีระยะยาวมากกว่า 3  ปีขึ้นไป
(2)  วางแผนได้ง่ายเนื่องจากข้อมูลมีลักษณะกว้าง ๆ ง่าย ๆ 
(3)  มีระยะเวลาไม่จำกัด
(4)  ความเชื่อมั่นจะแปรผันกับระยะเวลาของแผน
(5)  ใช้แก้ปัญหาได้เพียงผิวเผิน
 
ตอบ  4. แผนระยะยาว  คือ  แผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแต่ข้อเสียของการวางแผนระยะยาวนี้ คือ ความเชื่อมั่นว่าแผนจะประสบความสำเร็จจะแปรฝันกับระยะเวลาของแผนนั่นเอง
 
2. แผนงบประมาณของไทยซึ่งเป็นแผนประจำทุกปีนั้น จัดเป็นแผนประเภทใด
(1)  แผนรายปี       (2)  แผนงบประมาณ
(3)  แผนการเงิน    (4)  แผนโครงการ
(5)  ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  5. แผนงบประมาณแผ่นดินของไทยนั้น  จัดเป็นแผนรายปีและแผนการเงินที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายสำหรับดำเนินการตามแผนโครงการต่าง ๆ ในรอบปีงบประมาณนั้น
 
3. การวางแผน (Planning)  มีลักษณะอย่างไร
(1)  เป็นการปฏิบัติ  (Action)
(2)  มีลักษณะไม่หยุดนิ่ง (Dynamic)
(3)  เป็นกระบวนการอย่างมีขั้นตอน (Process)
(4) มีการกระทำที่ต่อเนื่อง (Continuous)
(5)  ถูกทุกข้อ
 
ตอบ  3. อาจสรุปได้ว่า การวางแผนเป็นการเสนอแนะแนวทางในการทำงานโดยการวิเคราะห์และตัดสินใจที่จะเสนอแนะข้อเสนอ (Proposals)  ในการทำงานในอนาคต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้วยวิธีการที่ดีที่สุด  และถือว่ากระบวนการวางแผนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เหตุผลและต้องใช้ความคิดเชิงประยุกต์อย่างมาก
 
4. งานต่อไปนี้  งานใดควรเป็นงานแรกของการวางแผน
(1)  การกำหนดเป้าหมายของแผน
(2)  การกำหนดแนวทางของแผน
(3)  การกำหนดขอบเขตของแผน
(4)  การกำหนดกิจกรรมของแผน
(5)  การกำหนดผลลัพธ์ของแผน
 
ตอบ  1. ดร.ชินวุธ  สุนทรสีมะ  ได้สรุปว่าขั้นตอนในการวางแผนมี 7 ขั้นตอนมีดังนี้ 1.กำหนดเป้าหมาย  2.ศึกษาสถานการณ์แวดล้อม   3.กำหนดแนวทางของแผน  4.วิเคราะห์เปรียบเทียบแนวทางทั้งหลาย 5.ตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุด 6.กำหนดรายละเอียดการดำเนินการตามแนวทางที่ดีที่สุด  7.รวบรวมรายละเอียดเขียนเป็นแผนขั้นสุดท้าย
 
5. แผนงานและนโยบาย อาจมีจุดร่วมกันที่จุดใด
(1)  ผู้อนุมัติ             (2)  ผู้รับผิดชอบ
(3)  ผู้วิเคราะห์         (4)  ผู้ควบคุม
(5)  ผู้ร่าง
 
ตอบ  4. โดยปกติหน้าที่ในการวางแผนในระดับองค์การนั้นจะถือเป็นหน้าที่ของนักบริหารระดับกลาง ส่วนนักบริหารระดับสูงจะวางนโยบาย และนักบริหารระดับล่างจะวางโครงการ แต่เนื่องจากนโยบายนั้นจะครอบคลุมถึงแผนงาน โครงการด้วย ดังนั้นนักบริหารระดับสูงจึงต้องทำหน้าที่ควบคุมแผนงาน โครงการ ให้สอดคล้องไปกับนโยบายด้วยเช่นกัน  ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าแผนงานและนโยบายอาจมีจุดร่วมกันอยู่ที่ผู้ควบคุมนั่นเอง
 
6. การวางแผนอาจทำได้ 3 วิธี วิธีที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ที่หน่วยวางแผนยังขาดความชำนาญในการวางแผนคือวิธีใด
(1)  Project by Project Planning       
(2) Integrated Public Investment Planning
(3)  Comprehensive Planning
(4)  Aggregative Planning
(5)  Global Planning
 
ตอบ  1. การวางแผนแบบรายโครงการ   (Project by Project Planning)  นี้ถือเป็นการวางแผนในกระสวนที่เรียกว่า  “Bottom-up Process”  กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดให้แต่ละหน่วยงานในระดับล่างเขียนโครงการของตนขึ้นมา  แล้วส่งให้หน่วยงานวางแผนกลางเพื่อรวบรวมโครงการเหล่านั้น รวมเป็นแผนเดียวกัน (แผนรวมของชาติ) ซึ่งวิธีการวางแผนแบบนี้มักจะไม่ค่อยกล่าวถึงภาคเอกชนมากนัก
 
7. การวางแผนแบบรายโครงการถือเป็นการวางแผนในกระสวน  (Pattern)  ชนิดใด
(1)  Buttom-up Process      (2)  Top-down Process
(3)  Two-ways Process      (4)  Diagnosis Process
(5)  Multiways Process
 
ตอบ  1. การวางแผนแบบรายโครงการ (Project by Project Planning) นี้ถือเป็นการวางแผนในกระสวนนี้เรียกว่า  “Bottom-up Process”  กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดให้แต่ละหน่วยงานในระดับล่างเขียนโครงการของตนขึ้นมา  แล้วส่งให้หน่วยงานวางแผนกลางเพื่อรวบรวมโครงการเหล่านั้น  รวมเป็นแผนเดียวกัน (แผนรวมของชาติ)  ซึ่งวิธีการวางแผนแบบนี้มักจะไม่ค่อยกล่าวถึงภาคเอกชนมากนัก
 
8. การวางแผนแบบประสานการลงทุนภาคสาธารณะ  มีจุดประสงค์หลักเพื่อแก้ไขปัญหาอะไรของวิธีวางแผนแบบรายโครงการ
(1)  แก้ความขัดแย้งของแผนงานย่อย
(2) แก้ความขัดแย้งของหน่วยงานวางแผน
(3)  แก้ความขัดแย้งในเรื่องงบประมาณ
(4)  แก้ปัญหาเรื่องความไม่ลงตัวของวงเงินงบประมาณ
(5)  แก้ปัญหาเรื่องขอบเขตของแผน
 
ตอบ  4. การวางแผนแบบประสานการลงทุนภาคสาธารณะนั้น เป็นวิธีที่เกิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของการวางแผนแบบรายโครงการโดยเฉพาะในเรื่องของงบประมาณ  ด้วยการกำหนดงบเงินงบประมาณไว้ล่วงหน้า ดังนั้นวิธีนี้จึงสามารถแก้ปัญหาเรื่องความไม่ลงตัวของวงเงินงบประมาณได้  แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งของโครงการต่าง ๆ ได้
 
9. การวางแผนแบบประสมประสาน มีขั้นตอนสำคัญอยู่ที่ใด
(1)  การเก็บข้อมูลที่กว้างขวาง
(2) การวิเคราะห์สถานการณ์แบบก้าวหน้า
(3)  การทำแบบจำลอง (Model) ของแผน
(4)  การสร้างเศรษฐมิติของแผน
(5)  การขออนุมัติหลักการของแผนก่อนเขียนแผนขั้นสุดท้าย
 
ตอบ  3. การวางแผนแบบสมบูรณ์แบบ หรือแผนรวม หรือแบบประสมประสานนั้น จะประกอบด้วยการสร้างรูปแบบการเจริญเติบโต (Growth Model) ในช่วงระยะของแผนนั้น  โดยพิจารณาจากอัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวังไว้ในรูปของการบริโภค  เงินออม  การลงทุน  การนำเข้า-ส่งออก  การจ้างงาน ฯลฯ
 
10. วิธีการวางแผนทั้งหลายอาจจำแนกเป็นขั้นตอนในการวางแผนได้  2  ระยะ  คือการวางแผนกลยุทธ์กับอะไร
(1)  การวางแผนรวม
(2)  การวางแผนบริหาร
(3)  การวางแผนดำเนินการ
(4)  การวางแผนสังคม
(5)  การวางแผนพัฒนา
 
ตอบ  3. ขั้นตอนในการวางแผนนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันกับขั้นตอนในการวางโครงการนั่นคือ  จะมี  2  ระยะ  ได้แก่ 1. การวางแผนกลยุทธ์ 2.การวางแผนดำเนินการ
 
ตัวอย่างข้อสอบขุดนี้มาจาก
 
E-BOOK Download คู่มือ+ข้อสอบ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน‏ใหม่ ปี 56 ราคา 249 บาท จัดทำโดย... นักวิชาการเตรียมสอบข้าราชการ  
 
 
คู่มือ+ข้อสอบ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ ข้อสอบกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์
ข้อสอบกรมพัฒนาพลังงานทดแทน,แนวข้อสอบกรมพัฒนาพลังงานทดแทน,ข้อสอบกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน,สอบนักวิเคราะห์นโยบายและแผน พลังงานทดแทน,แนวข้อสอบนักทรัพยากรบุคคล,ข้อสอบเจ้าพนักงานธุรการ,สอบพลังงานทดแทน,ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์กรมพลังงานทดแทน,สอบพลังงานทดแทน 2556กรบุคคล
เปิดดูรายละเอียด :-
เว็บไซต์ติดต่อ :http://www.sheetram.com/products-p-281-1-298-คู่มือเตรียมสอบ-แนวข้อสอบ-กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน.html
วันที่ประกาศ :20 กรกฎาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น